ห้องสมุดเฟมินิสต์ ประวัติศาสตร์ที่มีความหมายของผู้หญิง
ห้องสมุดเฟมินิสต์ อาชีพใน บรรณารักษศาสตร์ หรืองานต่าง ๆ ในห้องสมุดปัจจุบัน เกือบจะเป็นอาชีพ ของเพศหญิงไปแล้ว และมันเป็นอย่างนั้น มาอย่างยาวนาน ตลอดประวัติศาสตร์ของ ห้องสมุดทั่วโลก
โดยอ้างอิงข้อมูลจาก มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ได้ศึกษาไว้ว่า 83% ของ บรรณารักษ์ ที่ทำงานในสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันคือผู้หญิง มีเพียงสมัยเดียวที่ เหล่าบรรณารักษ์ มักจะเป็นเพศชายคือในปี 1880s โดยผู้ชายได้ทำอาชีพ บรรณารักษ์สูงถึง 52%
การเหมารวมภาพลักษณ์ ของบรรณารักษ์ว่าจะมี ความเคร่งขึมหรือเซ็กซี นั้นเป็นเรื่องปกติ ในขณะที่บางครั้งก็มี บรรณารักษ์ผู้ชายเข้าไปอยู่ ในนวนิยายต่าง ๆ (เช่น Lucien จาก Sandman comics หรือ The Librarian ของ Discworld series ที่เป็นลิงอุรังอุตัง มากกว่าจะเป็น มนุษย์ผู้ชาย แต่คิดว่าน่าจะ เข้าข่ายเพศผู้นะ)
แต่ก็มีหลายเรื่องที่ เป็นบรรณารักษ์เพศหญิง อย่าง Barbara Gordon จากเรื่อง Batman, Lirael ที่เป็นทั้งชื่อตัวละคร และตัวดำเนินเรื่องหลัก, Marian Ashcroft ใน Beautiful Creatures เป็นต้น
การเชื่อมโยงกัน ระว่างผู้หญิงและ บรรณารักษศาสตร์และ งานห้องสมุดต่าง ๆ ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนมาถึงจุดที่เหล่า เฟมินิสต์ในวงกว้าง เริ่มจะถกเถียงกัน ในบทบาทของ ผู้หญิงในสังคม และตั้งคำถามในเรื่อง Equal pay (ค่าจ้างที่เท่าเทียม) และ Employee Rights (สิทธิในการจ้างงาน)
ภาพลักษณ์ที่เกี่ยวข้อง กับบรรณารักษ์ ได้รับผลกระทบจากการ ภาพลักษณ์ในเรื่อง ความเป็นหญิง และ ความเป็นผู้หญิง (Womanhood and Femininity) ในขณะเดียวกัน บรรณารักษ์ผู้หญิง และตำแหน่งอื่น ๆ ในห้องสมุดก็ มีความสำคัญ แต่กลับถูกละเลยที่จะ ถูกพิจารณาร่วมด้วย ในขณะที่มีการต่อสู้ เพื่อความเท่าเทียม การสำรวจเฟมินิสต์ และประวัติศาสตร์ของห้องสมุด แสดงถึงความสัมพันธ์ ระหว่างทั้งสองว่ามี ความเกี่ยวพันกันอย่างไร
กิจกรรมของบรรณารักษ์หญิงและเฟมินิสต์
เมื่อมีการถกกัน ในเรื่องบรรณารักษ์หญิง ในอเมริกาในช่วงปลาย ทศวรรษที่ 19 และ ต้นศตวรรษที่ 20 ในเรียงความของ Annie L. Downey ในหัวข้อ “The History, Progression, and Issues of Women Librarians” (ประวัติศาสตร์, ความก้าวหน้า, และปัญหาของบรรณารักษ์หญิง) โดยเธอได้ให้ไอเดีย ของความเป็นหญิงที่แท้จจริง บทบาทที่สอดคล้อง กับภาพลักษณ์ของ ความเป็นผู้หญิง
และการโต้เถียงว่า “คนผิวขาว, มีการศึกษา, ผู้หญิงชนชั้นกลาง จะถูกคาดหวังให้หางาน ที่สอดคล้องกับ ความเป็นผู้หญิงที่แท้จริง งานบรรณารักษศาสตร์ ถูกยกระดับให้เป็น อาชีพที่สมบูรณ์แบบของ ผู้หญิงที่แท้จริง เพราะมันสามารถให้คุณ ใช้คุณสมบัติธรรมชาติ (ของผู้หญิง) เช่น ความบริสุทธิ ความอ่อนน้อม ความเป็นครอบครัว ความใส่ใจ”
ภาพลักษณ์ “True woman” (ความเป็นหญิงที่แท้จริง) เป็นรากฐานของ “Passive femininity” (ความเป็นหญิงเชิงรับ) และแนวคิด ปิตาธิปไตย ในเรื่องของความเคารพ (Patriarchal concepts of respectability) หมายความว่า บรรณารักษ์หญิง จะถูกมองเป็นกลุ่มคนที่ มีประโยชน์ต่อ สังคมทุนนิยม ซึ่งยังคงไม่ได้ส่งผล กระทบอะไรกับ ระบอบเผด็จการ
ภาพลักษณ์ในเรื่องการหารายได้ของผู้หญิงและผู้ชาย ที่มีความไม่เท่าเทียมกัน
บรรณารักษ์หญิง จะไม่มีวันหารายได้ เกินคู่รักผู้ชาย หรือผู้ชายในชนชั้นกลา งที่เธออาจจะได้มี โอกาสแต่งงานด้วย โดย Downey ยังบอกเพิ่มเติมว่า “ผู้ดูแลวางแผน ในเรื่องห้องสมุดนั้น เปิดรับสมัครงาน ให้เฉพาะผู้หญิงเพราะว่า
จากความเชื่อของ พวกเขาเชื่อว่าผู้หญิงนั้น เหมาะสมกับงานภายใน กำแพงห้องสมุด พวกเขายังรู้ด้วยว่า จะสามารถจ้าง (ผู้หญิง) ในเงินเดือน ที่ต่ำกว่านี้ได้” การต่อสู่ของเฟมินิสต์ บรรณารักษ์หญิง เพื่อสิทธิในการจ้างงาน ที่ดีขึ้นกว่าเดิม ยังคงดำเนินมาจนถึง ศตวรรษที่ 20 แม้จะถูกให้ความสำคัญ เมื่อไม่นานที่ผ่านมา
ห้องสมุดเฟมินิสต์ สิ่งที่ผู้หญิงที่ทำงานในห้องสมุดมองเห็นและให้ความสำคัญ
ผู้หญิงที่ทำหน้าที่ ในห้องสมุดมองใ นข้อเท็จจริงที่ว่า “สิทธิของผู้หญิงในเรื่องวิชาชีพ และในฐานะผู้ใช้งานห้องสมุด นั้นไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร” และสานต่อความเรียกร้อง ที่เริ่มต้นจากบรรณารักษ์หญิงสมัยก่อน โดยพยายามจะแก้ไข ความไม่สมดุลที่นำไปสู่ “ค่าจ้างของผู้หญิง ที่ได้น้อยกว่าทั้งเพศชาย และเพศหญิงในวิชาชีพอื่น”
ในสมัยที่มีการเคลื่อนไหว บรรณารักษ์หญิงต่อสู้ในเรื่อง “การรวบรวมและเผยแพร่ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาตนเองของ ผู้หญิงในห้องสมุดและวิชาชีพ” เพื่อให้คำแนะนำ แก่ผุ้ที่ทำงานในห้องสมุด ทั้งเพศชายเพศหญิง ที่รู้สึกว่าตัวเองกำลัง ได้รับผลกระทบในเรื่อง ความไม่เท่าเทียมทางเพศ (การเลือกปฏิบัติทางเพศ หรือ Sexual discrimination)
อนาคตของเฟมินิสต์และห้องสมุด จะเป็นอย่างไรต่อไป
ขณะที่การต่อสู้เพื่อ Equal pay ถูกมองเห็นถึงความสำคัญ มันก็ไม่ใช่สิ่งเดียวที่ผู้หญิง (โดยเฉพาะผู้หญิงในห้องสมุด) มีการต่อสู้และเรียกร้อง มีเฟมินิสต์ที่ยอดเยี่ยม หลายคนที่ทำงานใน ห้องสมุดทั่วโลก จดบันทึกและเก็บรักษา ประวัติศาสตร์ แนวคิดสตรีนิยม (เฟมินิสต์) และผู้หญิงในทุกยุคสมัย M. Lynx Qualey ได้ให้ตัวอย่าง แปดเฟมินิสต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในห้องสมุดทั่วโลก ที่ได้รับภาระหน้าที่อันสำคัญ หนึ่งในห้องสมุดเหล่านั้นคือ The Feminist Library ในลอนดอน
The Feminist Library ไม่ได้แค่ทำการบันทึกประวัติศาสตร์ของผู้หญิง แต่ยังสร้างอนาคตของผู้หญิงอีกด้วย ที่ห้องสมุดจะมีพื้นที่สำหรับคอมมิวนิตี้ ทำเวิร์คช็อป เผยแพร่หนังสือทำมือ และสนับสนุนเหล่านักวิชาการเฟมินิสต์ และช่วยจัดการดูแล
ความเท่าเทียมของผู้หญิง และเหล่าผู้ที่ทำงานในห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุดของเฟมินิสต์ หรือห้องสมุดปกติ ก็ยังไม่ความเหลื่อมล้ำ อยู่ในปัจจุบัน แม้จะมีความก้าวหน้า ในเรื่องความเท่าเทียม มากแล้วก็ตาม เราจะยังคงเห็นความเคลื่อนไหว ของผู้หญิง และเฟมินิสต์ที่ เรียกร้องสังคมที่น่าอยู่ และยุติธรรมกับมนุษย์ทุกคน และพวกเขามากกว่านี้
เรียบเรียงโดย: แซมมีแบร์